โครงการชวนผู้ชายร่วมแก้ไขดูแลปัญหาความรุนแรง

การแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็กนั้น ผู้หญิง และองค์กรที่ทำงานเรื่องผู้หญิง มักจะเป็นหลักในการดูแล และผลักดันในเชิงนโยบาย และสังคมก็ยังมองว่าเป็นเรื่องของผู้หญิงซึ่งแม้จะดำเนินการมาอย่างเข้มข้น แต่ปัญหาความรุนแรงก็ยังคงอยู่มิติที่ยังไม่ค่อยมีการเอื้อมเข้าไปถึงมากนักคือ ความร่วมมือของผู้ชายในการช่วยดูแลปัญหานี้ ซึ่งจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏผู้ชายเป็นผู้กระทำรุนแรงในอัตราที่สูง มากกว่าผู้หญิงมากการที่จะชวนผู้ชายให้มาช่วยกันหาทางออกจึงน่าที่จะเป็นแนวทางที่เอื้อมากขึ้นสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ ได้มีความพยายามในการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชายในหลายเวทีโดยยกเป็นตัวอย่าง 2 โครงการ

โครงการ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต) ลดความรุนแรงต่อผู้หญิง

โครงการมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ อบต มีโครงการดูแลปัญหาความรุนแรงในตำบล และจัดกิจกรรมตามความเหมาะสม โดยมีแนวดำเนินการ คือ สร้างการตระหนักรับรู้ในปัญหาความรุนแรงในครอบครัวให้กับผู้บริหาร อบต ซึ่งแต่ละ อบต จะประกอบด้วย นายก และรองนายก อบต เขา และปลัด อบตซึ่งจากกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วกำหนดให้ผู้บริหารจัดทำโครงการ แผนปฎิบัติการในลักษณะที่เข้ากับบริบทของตำบลเพื่อดำเนินการป้องกัน หรือแก้ไขความรุนแรงในตำบลของตนต่อไป การดำเนินงานนั้นจัดเวทีรวม 4 ครั้งใน4 ภาค ในปี 2544 คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่และภาคกลางที่กรุงเทพมหานครการสัมมนาในแต่ละภาคนั้น มี อบต. เข้าร่วมประมาณ 20 อบต ผู้เข้าร่วมประมาณ 60 คนต่อภาค ยกเว้นในกรุงเทพมหานครที่มีผู้นำชุมชนเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าร่วมประมาณ 600 คนโดยในการสัมมนาทุกเวที ผู้ชายจะเป็นส่วนใหญ่ คือ ประมาณร้อยละ 70

โครงการภาคีสุภาพบุรุษร่วมต้านภัยความรุนแรง

วัตถุประสงค์สำคัญของโครงการ คือ เพื่อให้สุภาพบุรุษแถวหน้าของสังคม ได้ร่วมสร้างพันธะผูกพันในการดูแลปัญหาความรุนแรงในงาน /พันธกิจของแต่ละคนพร้อมทั้งเป็นแบบอย่างของการมีส่วนร่วมของผู้ชาย แนวดำเนินงานของโครงการนั้นเป็นลักษณะการแถลงข่าวเพื่อร่วมกันสะท้อนจุดยืนและแนวทางที่จะทำในกรอบหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในมิติต่างๆที่เชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาความรุนแรง โดยผู้ร่วมในภาคีแสดงจุดยืนในครั้งนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2550คือ คุณจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คุณอภิรักษ์โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคุณสุวิทย์ ขันธาโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว คุณแทนคุณ จิตต์อิสระ ในฐานะพิธีกร /สื่อมวลชน และผู้แทนของตำรวจพล ต ต. พงษ์ภัส พงษ์เจริญ